ธรรมะ สรุปพิจารณาความว่าง
(จากสมาธิ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2551)
***เมื่อกระดาษเปล่า หากยังมิได้เขียนอะไรก็ยังเป็นกระดาษเปล่า แต่ถ้าเราเริ่มที่จะเขียนแต่สิ่งที่ดีๆเข้าไปกระดาษแผ่นนั้นก็มีคุณค่า หากกระดาษว่างเปล่าแผ่นนั้นเขียนแต่สิ่งที่ทำให้เกิดกิเลส ตัณหา ความไม่ดีเข้าไป กระดาษแผ่นนั้นก็จะไม่มีค่า เป็นกระดาษเปล่าดีกว่ามีแต่สิ่งไม่ดีเขียนลงไปในกระดาษแผ่นนั้น เพราะหากกระดาษที่ไม่ดีถูกนำไปส่งต่อให้ผู้คนมากมายได้อ่านได้พบเห็น ย่อมส่งผลต่อการประพฤติผิดของมนุษย์ต่างๆมากมายตามมา
***กระดาษแข็งที่ยังมิได้ใส่เม็ดทรายเข้าไปก็เป็นกระดาษแข็งที่ว่างเปล่า หากใส่เม็ดทรายเข้าไปก็จะเรียกว่ากระดาษทรายมีมูลค่าเพิ่มขึ้น อีกทั้งประโยชน์ในการใช้มากมายตามมา เป็นกระดาษที่มีคุณค่าและมีใช้กันทั่วไป
***แก้วน้ำที่ว่างเปล่า ปล่อยว่างทิ้งไว้เฉยๆฝุ่นละอองก็มาเกาะ หากแก้วน้ำที่ว่างเปล่านั้นมีฝุ่นละอองมาเกาะแล้ว เทน้ำสะอาดเข้าไปในแก้วน้ำที่ตั้งทิ้งไว้จนฝุ่นเกาะนั้น น้ำที่อยู่ในแก้วใบนั้นก็จะเป็นน้ำที่ไม่สะอาดเช่นเดิม เมื่อนำแก้วว่างเปล่าใบนั้นล้างให้ใสสะอาดแล้วเทน้ำที่สกปรกลงไป แก้วใบนั้นก็ไม่สะอาดตาม ดังนั้นเราควรที่จะทำแก้วให้สะอาดก่อนและสิ่งที่จะเทเข้าไปก็ต้องสะอาดด้วย หรือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าจึงจะทำให้ทั้งแก้วทั้งน้ำนั้นสะอาดและมีคุณค่า เปรียบได้กับหยินและหยางคงอยู่คู่กัน ยกตัวอย่างสิ่งที่จะเทเข้าไปในแก้วหากเป็นเหล้าหรือสารเคมีที่อันตรายเทใส่ แก้วใบที่สะอาด แม้แก้วจะสะอาดหากแต่น้ำที่อยู่ในแก้วนั้นมีแต่สิ่งที่เป็นพิษและอันตรายต่อ ชีวิตแล้วแก้วใบนั้นก็ไม่มีคุณค่าอันใดเลยสามารถฆ่าหรือทำลายชีวิตสรรพสัตว์ และมนุษย์ได้

***แก้วใบที่ 1 ว่างเปล่ายังไม่มีอะไรมาเทใส่ แต่แก้วใบที่ 2 มีสิ่งสกปรกเจือปนเทใส่ลงไปในแก้วแต่ยังไม่เต็มแก้ว หากเราต้องการจะเทน้ำใส่ไปเพิ่ม แก้วใบแรกย่อมเทน้ำใส่ไปมากกว่าแก้วใบที่สองอย่างแน่นอน อีกทั้งหากเราจะเทสิ่งที่มีคุณค่า เช่น นมถั่วเหลืองที่สะอาดลงไปในแก้วใบที่ 1 แก้วใบที่ 1 นั้นก็จะมีนมถั่วเหลืองที่สะอาดและมีคุณค่าเต็มๆแก้ว แต่เมื่อเราจะเทนมถั่วเหลืองที่สะอาดลงในแก้วใบที่ 2 นั้น เทใส่เข้าไปได้แค่นิดเดียวก็เต็มแล้วแถมยังทานไม่ได้เนื่องจากนมถั่วเหลือง ในแก้วใบที่สองนั้นเน่าแล้วเพราะก่อนที่จะเทนมถั่วเหลืองใส่แก้วใบที่ 2 เต็มไปด้วยแต่สิ่งสกปรกอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว ฉะนั้นแก้วใบที่ 1ที่ว่างเปล่าจึงมีคุณค่ากว่าใบที่ 2 ถึงแม้จะเป็นแก้วเปล่าๆก็ตาม
จากตัวอย่างของแก้วใบที่ 1 และที่2 ที่เปรียบเทียบให้เห็นนั้นให้ได้พิจารณาอย่างละเอียดว่าการบำเพ็ญในใจตนฝึกจิตให้เกิดความว่างได้นั้นควรเริ่มต้นจากการทำจิตให้สะอาด ขัดเกลาไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าจะต้องสะอาดทันทีเลย ไม่ใช่อย่างนั้นเพราะตามทฤษฏีแล้วเขียนไปเลยได้แต่การปฏิบัติกับจิตใจของเรา แล้วนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่บีบบังคับตัวเองเพราะจะทำให้สติแตกได้ ใจที่บีบคั้นจะทำให้เหนื่อยหล้าเร็ว การปฏิบัติให้สู่ความว่างจึงต้องค่อยเป็นค่อยไปด้วยจิตที่เริ่มต้นก่อน แม้จะสกปรกมาแค่ไหนก็สามารถขัดเกลาให้สะอาดได้ เพราะใจเราก็เปรียบดังแก้วที่เปราะบาง ตกจากมือเมื่อใดก็แตกหรือร้าวได้ง่ายเช่นกัน จิตใจที่อ่อนไหวเปราะบางจึงต้องละเอียดกับการฝึกฝน แต่ไม่ยากสำหรับการปฏิบัติ ขัดเกลาใจอย่างไรให้สะอาดได้
เมื่อเรามีความโกรธ เมื่อเรามีความหยิ่งในตัวตน เมื่อเราคิดมิดีมิร้ายกับคนอื่น เป็นต้น นับว่าจิตไม่สะอาดแล้ว เมื่อคิดเห็นว่าการกระทำเช่นนี้ไม่ดีก็ต้องปล่อยวางไม่คิดในสิ่งที่ไม่ดี บางคนอาจจะตั้งคำถามว่าก็เมื่อโมโหแล้วจะยับยั้งได้อย่างไร เช่นบางคนเดินไปที่ตลาดซื้ออาหารอยู่ ร้านนั้นคนเยอะมาก ต้องเบียดเสียดกับคนซื้อ ก็มีคนหนึ่งเหยียบเข้าที่เท้าเราอย่างแรง เขาว่าความโกรธก็เกิดขึ้นมา จะแก้อย่างไร คำถามนี้มีในใจหลายคนเพราะเป็นบ่อยใช่หรือไม่ อันที่จริงแล้วใจเราเป็นใหญ่เลยเมื่อเราถูกเหยียบเท้าเราจะละโกรธได้คือ การคิดว่าเขาคงมิตั้งใจ มองไม่เห็น หรือให้คิดว่าไม่เป็นไรอภัยให้ แต่ให้ดีเราก็สะกิดเขาด้วยเพื่อเป็นการเตือนเขาว่าเหยียบเท้าเรานะ คนที่เขาเหยียบเท้าเราถ้าเขามีความสำนึกผิด เขาก็จะกล่าวขอโทษทันที หากเขาไม่มีความสำนึกเราก็อย่าไปแกล้งเขากลับละ ผิดนักเพราะใจคิดกระทำผิดแล้วย่อมยากที่จะขัดเกลา
การสำนึกและให้อภัยนั้นสำคัญมากในสังคม ค่อยๆฝึกฝนกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในโลกปัจจุบันทั้งเรื่องงาน เรื่องที่บ้านและเรื่องอื่นๆที่พบเจอในสังคม เพราะเราจะหลีกหนีไม่ได้มีแต่ต้องสู้กับสิ่งที่เจอด้วยใจที่แข็งแกร่ง ใช้การให้อภัยจะถือระงับความโกรธและปัญหาการทะเลาะได้ดี
การขัดเกลาจิตให้สะอาดนั้นก็เป็นวิธีการส่วนบุคคลได้เพราะบางคนมีความคิด ต่างกัน แต่ขอให้เป็นสิ่งที่ดี เมื่อขัดเกลาใจให้สะอาดแล้วการพิจารณาความว่างก็จะเป็นไปได้ดีและเร็วพร้อม จะรับธรรมและสิ่งที่ดีๆเข้าไป สะอาดละเอียดจนสู่ความสุขที่แท้จริงได้