วารีบำบัด รักษาอาการหูอื้อด้วยวารีบำบัด
อาการหูอื้อนั้นมีโอกาสเป็นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่มีขี้หูหรือสิ่งแปลกปลอมอุดตัน, น้ำเข้าหู, การสั่งน้ำมูกแรงๆ, ไอ - จาม และการได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงหรือได้ยินเสียงดังมากๆ เช่น ประทัด , หูอื้อเนื่องจากแก้วหูทะลุ , หูอื้อเนื่องจากมีของเหลวค้างอยู่ในหูชั้นกลาง พบบ่อยในเด็กที่เป็นหวัด หรือติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน , หูอื้อแบบแน่นในหู อาจมีสาเหตุจากการระบายลมของท่อระบายลมหูชั้นกลางอุดตันชั่วคราว เช่น เวลาลงจากเครื่องบินใหม่ๆ หรือช่วงที่เป็นหวัด ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัย
รักษาอาการหูอื้อด้วยวารีบำบัด
เราสามารถรักษาอาการหูอื้อเบื้องต้น และ บรรเทาอาการหูอื้อ ด้วยวิธีการวารีบำบัด หากไม่ดีขึ้นใน 7 วัน ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดต่อไป1. อบไอน้ำในร่มหรือกระโจม
- ต้มน้ำบนกาต้มน้ำไฟฟ้าแบบที่มีปากเทน้ำ วางกาลงบนโต๊ให้พวยกาชี้ตรงกับหู โดยทั้งหมดให้กระทำให้กระโจม โดยใช้ร่มกางแล้วคลุมด้วยผ้าปูที่นอน- ให้พ่นไอร้อนใส่หูคราวละ 3 นาที แล้วพัก 1 นาที ระหว่างที่อบไอน้ำให้คลายความร้อนบนใบหน้าด้วยผ้าขนหนูที่ชุบน้ำเย็นจัดจนชุ่ม
- ให้ทำซ้ำๆ จนครบ 10 รอบ ต่อการนั่งกระโจม 1 ครั้ง
ทำสลับวันเว้นวันกับ ...
2. บ่มประคบด้วยความร้อน
- นำผ้าขนหนูผืนใหญ่แบบที่ใช้อาบน้ำ มาพับหลาย ๆ ทบ แล้วชุบน้ำอุ่นจัดร้อนเท่าที่สามารถทนได้ (ประมาณ 45 C) จนชุ่มแล้วบิดหมาด ๆ- ก่อนทำการประคบ ใช้น้ำมันหอม หรือน้ำมันมะกอกทาผิวใบหน้า และบริเวณหู
- วางผ้าปิดลงที่หูข้างที่มีปัญหา หรือทั้งสองข้าง ทำวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน ครั้งละ 1 ชั่วโมง ในระหว่างที่ทำให้คอยชุบน้ำอุ่นใหม่เรื่อย ๆ เมื่อผ้าเย็นลง
กรณีเคยมีน้ำเข้าหู
หากหูอื้อเพราะเคยเล่นน้ำ หรือน้ำเข้าหูมาก่อน และมีขี้หูเยอะ น้ำอาจจะเข้าไปทำให้ขี้หูพอง ปิดช่องหู ทำให้ไม่ได้ยินเสียง กรณีนี้การบ่มแห้งจะได้ผลดีกว่าเราสามารถทำให้ขี้หูแห้งได้ง่ายๆ โดยการใช้ไดร์ยเป่าผมเป่าหู เพื่อให้น้ำในขี้หูระเหยออกมา เมื่อขี้หูแห้ง ก็จะหดตัว ไม่พองอุดช่องท่อในหู และสามารถหลุดออกมาจากผนังท่อในหูได้ดีกว่าตอนเปียก
- ปรับความร้อนของไดร์ยเป่าผมให้ต่ำที่สุด
- วางผ้าขนหนูที่แห้งปกลงบนหูข้างที่มีอาการ เพื่อป้องกันความร้อนจากลมร้อนที่มากเกินไป
- เป่าลมร้อนจากไดร์ยเป่าผมลงบนหูที่มีผ้าขนหนูปกอยู่ โดยให้เป่าไกลก่อน เพื่อหยั่งความร้อนให้พอเหมาะกับที่เราจะทนได้
เคี้ยว หรือขยับปากกว้าง ๆ ก็ช่วยได้
การขยับปากกว้างๆ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง จะทำให้ท่อทางเดินภายในช่องหู บีบ และขยาย สลับไปมา ซึ่งบางครั้งจะช่วยให้สิ่งแปลกปลอมที่เกาะตามผนังทางเดินในช่องหู หลุดออกไปได้ควรไปพบแพทย์เมื่อ
อาการหูอื้อนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นำไปสู่อาการต่าง ๆ ที่หนักขึ้นกว่าเดิม จึงควรไปพบแพทย์เมื่อ- มีหูอื้อหลังจากเป็นโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ หรือไซนัสอักเสบ แต่เมื่อหายแล้วอาการหูอื้อยังไม่ดีขึ้นใน 7 วัน
- มีหูอื้อที่ร่วมกับการได้ยินลดลง หรือมีอาการเวียนศีรษะ หรือบ้านหมุน
- มีหูอื้อที่เกิดขึ้นโดยหาสาเหตุไม่ได้/ไม่รู้สาเหตุ