ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น Key Signature (เครื่องหมายกุญแจเสียง)
เช่น จากรูป เป็น C Natual Minor Scale จะพบว่ามีการใช้ b อยู่ 3 ระดับด้วยกันคือ Eb , Ab และ Bb หากเราจะเขียนเครื่องหมาย b ใส่ทุกครั้งที่ใช้โน้ต Eb , Ab และ Bb ก็จะเป็นการยุ่งยาก
ดังนั้นเราจึงนำ b ที่มีในสเกลมารวมกันไว้ที่เดียว ซึ่งกลายเป็น Key Signature ซึ่งต่อจากนี้ไป โน้ต Eb , Ab และ Bb ในบรรทัด จะไม่ต้องเขียนเครื่องหมาย b กำกับอีก จนกว่าจะถึงบาร์ที่มีการเปลี่ยน Key Signature เป็นอย่างอื่น
หรืออีกตัวอย่าง เช่น A Major Scale จะพบว่ามี # อยู่ 3 ระดับ คือ C# , F# และ G#
เราก็สามารถสร้าง Key Signature ให้ได้ดังนี้
หากเราต้องการหยุดผลของ Key Signature ชั่วคราวให้ใช้เครื่องหมาย Natural เหมือนที่เคยใช้กับเครื่องหมาย Accidental ทั่วไป เช่น
ในเพลง 1 เพลง สามารถมี Key Signature ได้หลายรูปแบบ ซึ่งหากบาร์ใดต้องการเปลี่ยน Key Signature ให้ปิดท้ายบาร์ก่อนหน้าด้วย Double Bar (เส้นหนาเท่ากันทั้งสองเส้น) เช่น จากรูป บาร์แรกจะเป็น Key Signature ของ C Natual Minor Scale ส่วน บาร์ที่ 2 จะเป็น Key Signature ของ G Major Scale ซึ่งจะเห็นว่า บางครั้งต้องมีการใช้ Natural เพื่อล้างผลของ Key Signature ก่อนหน้าด้วย
ประโยชน์ของ Key Signature นั้น เราจะได้ใช้ในการเลื่อนคีย์ของเพลง ซึ่งปกติเมื่อเราเลื่อนคีย์ให้กับเพลงแล้ว จะทำให้เวลาเขียนโน้ตให้กับเพลงนั้น ต้องมีการเขียนเครื่องหมาย Accidental เยอะมาก เพราะว่าเราต้องคอยเขียนเครื่องหมาย Accidental ให้กับโน้ตทุกตัวที่จำเป็นทุกครั้งที่ปรากฏในบรรทัด ดังนั้นจึงสะดวกกว่าถ้าจะเขียนเครื่องหมาย Accidental ไว้จุดเดียวแล้วให้มีผลกับโน้ตทุกตัว เราจึงมักเขียนในรูปแบบ Key Signature เพื่อลดความยุ่งยากและลดข้อผิดพลาดนั่นเอง
Key Signature ตามมาตราฐานแล้วจะมีอยู่ 30 รูปแบบ แต่มีรูปแบบที่ไม่ซ้ำกันอยู่ 15 รูปแบบ เพราะแบ่งเป็น 15 Major และ 15 Minor (เนื่องจากสเกลของ Major และ Minor นั้นมีการไล่ระดับที่ซ้ำกัน แต่เริ่มต้นต่างกัน ) ซึ่งจะมีรูปแบบที่เป็นไปได้ทั้งหมด ดังรูป ซึ่งจะเห็นว่าลักษณะของ Key Signature จะไล่ตั้งแต่ 7b ไปจนถึง 7#