ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น ตอนที่ 8 Accidentals (การเขยิบเสียง)
Flat ทำให้โน้ตมีเสียงต่ำลง 1 SemiTone
Sharp ทำให้โน้ตมีเสียงเพิ่มขึ้น 1 SemiTone
ลองมาพิจารณาจากคีย์เปียโนอีกครั้ง จะพบว่า โน้ตที่ให้เสียงสูงขึ้นจาก C 1 SemiTone คือ C# ในทำนองกลับกัน โน้ตที่ให้เสียงต่ำจาก D 1 SemiTone คือ Db ซึ่งจะเห็นได้ว่า C# และ Db เป็นคีย์เดียวกัน หรือเสียงเดียวกัน
และหากมองไปที่โน้ต E จะเห็นว่าเราสามารถที่จะเรียกได้อีกชื่อว่า Fb เพราะเสียง E จะต่ำกว่าเสียง F อยู่ 1 SemiTone หรือหากมองไปที่โน้ต F เราก็สามารถเรียกอีกชื่อได้เป็น E# เพราะเสียง F จะอยู่สูงกว่าเสียง E อยู่ 1 SemiTone
เราเรียกระดับเสียงเดียวที่มีชื่อเรียกได้หลายชื่อว่า enharmonic spelling
บางครั้งเราอาจต้องการเขยิบเสียงขึ้นหรือลง 1 Tone เต็มๆเลย เราก็สามารถทำได้โดยใช้เครื่องหมาย Double Sharp หรือ Double Flat
Double flat ทำให้โน้ตมีเสียงต่ำลง 1 Tone
Double sharp ทำให้โน้ตมีเสียงสูงขึ้น 1 Tone
เช่น D , Cx และ Ebb จะเป็นโน้ตที่ให้เสียงเดียวกัน เนื่องจาก D นั้นมีระดับเสียงสูงกว่า C อยู่ 1 Tone และต่ำกว่า E อยู่ 1 SemiTone ตามลำดับ
ระดับเสียงของโน้ตใน Staff นั้น หากเราใช้เครื่องหมาย b , # , bb หรือ x กำกับโน้ตในบาร์ใดแล้ว จะทำให้โน้ตในระดับเสียงเดียวกัน มีการเขยิบเสียงด้วยกันหมดทั้งบาร์นั้น ดังนั้นหากเราต้องการหยุดการมีผลของ Accidental เราสามารถทำได้โดยใช้เครื่องหมาย Natural
เช่น จากรูปโน้ตในบาร์ที่ 1 ทุกตัวจะเล่นเป็นเสียง F# ทั้งหมด
แต่รูปนี้ในบาร์ที่ 1 จะเล่นเป็นเสียง F#,F,F#,F ตามลำดับ
เครื่องหมายประเภท Accidental นั้น ทั้ง b , # , bb , X หรือ เมื่อใช้กับโน้ตระดับใดแล้ว จะมีผลกับโน้ตทุกตัวในระดับเดียวกัน ที่อยู่ภายในบาร์นั้น เช่น
จากรูปจะเห็นว่า ในบาร์ที่ 1 นั้น โน้ตตัวที่ 1 , 2 มีการใช้ # กำกับ ส่วนโน้ตตัวที่ 3 , 4 นั้นมีระดับในบรรทัดเช่นเดียวกันกับโน้ตตัวที่ 1 , 2 ตามลำดับ ดังนั้นเวลาเล่นโน้ตตัวที่ 3 , 4 จะเล่นในเสียงเดียวกันกับโน้ตตัวที่ 1 , 2
ส่วนในบาร์ที่ 2 เนื่องจากอยู่คนละบาร์กับบาร์ที่ 1 ดังนั้นเครื่องหมาย # ในโน้ตตัวที่ 1 , 2 (ในบาร์ที่ 1) จะไม่มีผลถึงโน้ตใดๆในบาร์ที่ 2 ดังนั้นโน้ตตัวที่ 1 (ในบาร์ที่ 2) หากอยากเล่นเสียง F# ก็ต้องใส่เครื่องหมาย # เข้าไปใหม่ด้วย ต่อมาโน้ตตัวที่ 2 (ในบาร์ที่ 2) มีการใช้ ก็จะส่งผลถึงโน้ตตัวต่อไปในบาร์ด้วย ดังนั้นโน้ตตัวที่ 3 เมื่อต้องการเล่นเสียง F# จึงต้องใส่เครื่องหมาย # อีกครั้ง ส่วนโน้ตตัวที่ 4 จะได้รับอานิสงค์ จากโน้ตตัวที่ 3 จึงได้เสียง F# โดยไม่ต้องใส่ # เอง
การเขียนเครื่องหมาย b , # , bb , x หรือ นั้น หากเขียนร่วมกับตัวอักษรกำกับเสียง เราจะเขียนตามหลังตัวอักษร เช่น A# หรือ Ab แต่ถ้าเขียนร่วมกับโน้ตบน Staff เราจะเขียนนำหน้าโน้ต เช่น