ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น ตอนที่ 5 Tuplet (เครื่องหมายควบโน้ต)
n-tuplet
tuplet คือเครื่องหมายควบโน้ตที่มีค่า Duration ใดๆก็ได้ จำนวน n ตัวเข้าด้วยกัน เพื่อให้เล่นโน้ตเหล่านั้นในระยะเวลาเท่ากับโน้ตเพียง m ตัว ซึ่งเขียนเป็นตัวเลขอัตราส่วน n:m ในรูปแบบดังนี้ซึ่งมีความหมายว่าจะให้เล่นโน้ต n ตัวในอัตราเดียวกับโน้ต m ตัว เช่น
จะหมายความว่า ให้เล่นโน้ตส่วนแปดทั้ง 5 ตัวใน tuplet ให้ทันในระยะเวลาเท่ากันกับการเล่นโน้ตส่วนแปดเพียง 4 ตัว
tuplet ที่ไม่กำหนดเป็นอัตราส่วน
คือจะมีตัวเลขบนเครื่องหมาย tuplet เพียงเลขเดียว มีความหมายว่า เมื่อโน้ตใดถูกควบเข้าด้วยกันด้วยเครื่องหมาย tuplet แล้ว ให้เล่นโน้ตเหล่านั้นทั้งหมดให้ทันภายใน 1 Beat (เคาะ) ซึ่ง tuplet มีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวโน้ตที่จะมาควบกัน เช่น -3- คือควบไม่เกิน 3 โน้ต , -5- คือควบไม่เกิน 5 โน้ต , -7- คือควบไม่เกิน 7 โน้ต , -9- คือควบไม่เกิน 9 โน้ต , ... เช่น ท่อนเพลงนี้ 1 บาร์มี 4 Beat ซึ่งแต่ละเคาะนั้นปกติจะมีค่า Duration เป็นโน้ตส่วนสี่ (ตัวดำ) แต่โน้ตเพลงข้างล่าง แต่ละ Beat แม้จะมี Duration ของโน้ตรวมกันแล้วเกินกำหนด แต่ก็ให้เล่นให้ทันภายใน 1 Beat พอดี้
การเขียนโน้ตที่เป็นส่วนประกอบใน tuplet นั้น จำนวนโน้ตใน tuplet จะต้องไม่เกินค่าระดับของ tuplet (ค่า n) ซึ่งเขียนระบุไว้กลางเส้นควบ และค่า Duration ของโน้ตทั้งหมดที่อยู่ใน tuplet เมื่อรวมกันแล้วจะต้องมากกว่า 1 Beat แต่น้อยกว่า 2 Beat เสมอ
จดไว้ : ลักษณะการเขียน tuplet มีได้หลายรูปแบบ เช่น