ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น ตอนที่ 4 Augmentation dots และ Tenuto ties (โน้ตประจุดและการโยงเสียง)

โน้ตประจุด (dots)
ใช้ตามหลังโน้ตชนิดใดๆ เพื่อเพิ่มค่าเวลาให้อีกครึ่งหนึ่งจากเดิม เช่น โน้ตส่วนสี่ (ตัวดำ) เมื่อตามด้วยจุด จะทำให้ระยะของเสียงโน้ตมีค่าเป็น 1/4 + 1/2(1/4) หรือมีค่าเท่ากับโน้ตส่วนสี่ (ตัวดำ) บวกด้วยโน้ตส่วนแปด (เขบ็ดหนึ่งชั้น) นั่นเอง
ซึ่งตัวอย่างของการใช้จุดที่มักพบบ่อยมีดังนี้

การโยงเสียง (ties)
ใช้โยงตัวโน้ตหลายตัวที่มีระดับเสียง (Pitch) เดียวกันเข้าด้วยกัน เพื่อรวมค่าเวลาของตัวโน้ตเข้าด้วยกัน เช่น หากโยงโน้ตส่วนสี่เข้ากับโน้ตส่วนสี่ จะทำให้กลายเป็นโน้ตส่วนสอง
สาเหตุที่ต้องใช้วิธีการโยงเส้นแทนที่จะเขียนเป็นตัวโน้ตที่ต้องการเลย (คือเขียนเป็นโน้ตส่วนสองแทนที่จะเขียนโน้ตส่วนสี่โยงโน้ตส่วนสี่) เพราะการเขียนโน้ตใน Staff มีกฏอยู่ว่า ในหนึ่งห้องเพลง หรือบาร์ ต้องประกอบด้วยตัวโน้ตรวมทั้งหมดไม่เกินค่าของเครื่องหมายบอกจังหวะ (Time Signature) ดังนั้นบางกรณีที่มีความจำเป็นที่โน้ตตัวสุดท้ายของห้องเพลงต้องมีเสียงยาวเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ในเครื่องหมายบอกจังหวะ ก็ให้โยงโน้ตตัวสุดท้ายของห้องเพลง ไปยังโน้ตในห้องเพลงถัดไป เช่น
เขียนอย่างนี้จะผิดกฏ

ที่ถูกต้องต้องเป็นอย่างนี้
