ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น ตอนที่ 1 Time Signature (เครื่องหมายกำหนดจังหวะ)
จากรูป ตัวเลขตัวบนในที่นี้คือ x จะบอกว่าใน 1 บาร์จะมีการเคาะนับ x เคาะ ส่วนตัวเลขตัวล่างในที่นี้คือ y จะบอกว่าใน 1 เคาะมีค่าเท่าตัวโน้ต (หรือตัวหยุด) ชนิดใด เช่น (ขออธิบายโดยอ้างอิงตัวโน้ตเป็นหลักก็แล้วกันนะครับ)
หมายความว่า 1 บาร์มี 4 เคาะ และ 1 เคาะมีค่าเท่ากับตัวโน้ตส่วนสี่ หรือตัวดำ
หมายความว่า 1 บาร์มี 3 เคาะ และ 1 เคาะมีค่าเท่ากับตัวโน้ตส่วนสี่ หรือตัวดำ
หมายความว่า 1 บาร์มี 6 เคาะ และ 1 เคาะมีค่าเท่ากับตัวโน้ตส่วนแปด หรือตัวเขบ็ด 1 ชั้น
การเขียนเครื่องหมายกำหนดจังหวะนั้น ให้เขียนที่ตำแหน่งเริ่มต้นบาร์ใดๆ และจะมีผลกับทุกบาร์หลังจากนั้น ซึ่งปกติในเพลง 1 เพลงมักจะมีสัดส่วนจังหวะ หรือเครื่องหมายกำหนดจังหวะเพียงค่าเดียว จึงเขียนเครื่องหมายกำหนดจังหวะที่ต้นบาร์แรกเพียงครั้งเดียวก็พอ แต่ในหนึ่งเพลงนั้น สามารถที่จะมีการเปลี่ยนเครื่องหมายกำหนดจังหวะกี่ครั้งก็ได้ กรณีที่เพลงมีสัดส่วนจังหวะหรือเครื่องหมายกำหนดจังหวะมากกว่า 1 ค่า ให้เขียนเครื่องหมายกำหนดจังหวะไว้ต้นบาร์ที่จะเริ่มเปลี่ยนสัดส่วนจังหวะ เช่น จากรูป ตั้งแต่บาร์ 4/4 เป็นต้นไป ให้เล่นในสัดส่วนจังหวะ 4/4 ไปทุกบาร์ จนกระทั่งถึงบาร์ที่ระบุ 3/4 ก็ให้เปลี่ยนไปเล่นสัดส่วนจังหวะ 3/4 ต่อไป
สาเหตุที่ต้องมีการระบุเครื่องหมายกำหนดจังหวะก็เนื่องจากว่า เพลงแต่ละเพลงมีความต้องการในการนับจังหวะที่ต่างกัน เพลงส่วนใหญ่จะใช้ตัวนับจังหวะ 4/4 แต่บางเพลงเช่นเพลงในจังหวะวอลซ์ต้องใช้ตัวนับจังหวะเป็น 3/4 จึงจะเคาะแล้วเข้ากับจังหวะของเพลง เป็นต้น
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ 4/4 บางครั้งเราสามารถเขียนแทนด้วยเครื่องหมาย
ชื่อมาตราของเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
เครื่องหมายกำหนดจังหวะนั้น จะมีสัดส่วนที่เป็นไปได้หลายมาตราด้วยกัน ซึ่งเรามีชื่อสำหรับเรียกแต่ละมาตราแตกต่างกันไป ดังนี้Simple Meter
คือสัดส่วนที่ตัวเลขตัวบนของเครื่องหมายกำหนดจังหวะ เป็น 2 , 3 , 4 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขอย่างง่าย (Simple) มีชื่อย่อยดังนี้2/n เรียกว่า Simple Duple เช่น 2/2 , 2/4 , 2/8 , 2/16
3/n เรียกว่า Simple Triple เช่น 3/2 , 3/4 , 3/8 , 3/16
4/n เรียกว่า Simple Quardruple เช่น 4/2 , 4/4 , 4/8 , 4/16
Compound Meter
คือสัดส่วนที่ตัวเลขตัวบนของเครื่องหมายกำหนดจังหวะ เป็น 6 , 9 , 12 ซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว มีชื่อย่อยดังนี้6/n เรียกว่า Compound Duple เช่น 6/2 , 6/4 , 6/8 , 6/16
9/n เรียกว่า Compound Triple เช่น 9/2 , 9/4 , 9/8 , 9/16
12/n เรียกว่า Compound Quardruple เช่น 12/2 , 12/4 , 12/8 , 12/16